วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ภาระงานที่ 2 ผู้เรียนวิเคราะห์ ประเมินค่าคำประพันธ์“ทุกข์ของชาวนาในบทกวี”

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ผู้แต่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ลักษณะคำประพันธ์ ร้อยแก้ว ประเภทบทความ
จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและบทกวีจีนซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนา
ลักษณะคำประพันธ์
     ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็น บทความแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ความคิดเห็นที่นำเสนอได้มาจากการวิเคราะห์ การใช้วิจารณญาณไตร่ตรองของผู้เขียน โดยผ่านการสำรวจปัญหา ที่มาของเรื่อง และข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียด ความคิดเห็นที่นำเสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของผู้เขียนหรือการโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีมาก่อนอย่างไรก็ตาม บทความแสดงความคิดเห็นที่ดีควรนำเสนอทัศนะใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครคิด หรือเสนอทัศนะที่มีเหตุผลเป็นการส้างสรรค์ ไม่ใช่บ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของความคิดเห็นที่นำเสนอนั้นขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัญหา การใช้ปัญหาไตร่ตรองโดยปราศจากอคติและการแสดงถึงเจตนาดีของผู้เขียนที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
บทวิเคราะห์
    คุณค่าด้านภาษา กลวิธีการแต่ง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความทีสามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้ ด้วยแสดงให้เห็นแนววความคิดชัดเจน ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่ายและมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน คือ 
- ส่วนนำ กล่าวถึงบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ที่ทรงได้ยินได้ฟังมาในอดีตมาประกอบในการเขียนบทความ 
- เนื้อเรื่อง วิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ และของหลี่เชินโดยทรงยกเหตุผลต่างๆและทรงแสดงทัศนะประกอบ เช่น 
“…ชวนให้คิดว่าเรื่องจริงๆนั้น ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ ลำเลิก กับใครๆ ว่าถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา คนอื่นๆ จะเอาอะไรกิน...”
- ส่วนสรุป สรุปความเพียงสั้นๆแต่ลึกซึ้ง ด้วยการตอกย้ำเรื่องความทุกข์ยากของชาวนา ไม่ว่ายุคสมัยใดก็เกิดปัญหาเช่นนี้

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ล้มทั้งยืน...ดีกว่าล้มไม่เป็น ( บทความที่สนใจ )

ล้มทั้งยืน...ดีกว่าล้มไม่เป็น

"อย่าคิดว่าสูญเสียแล้วชีวิตจะต้องเป็นศูนย์ เรานับหนึ่งใหม่ได้เสมอหากเราคิดจะนับซะอย่าง"


     ถ้าสิ่งที่เราคาดหวัง...ไม่เป็นดั่งหวังถ้าสิ่งที่เราพยายามทุ่มเททำสุดแรง กายแรงใจไม่ประสบผลสำเร็จ ถ้าสิ่งที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นมันก็เกิดขึ้นและได้สร้างความบอบ ช้ำจนทำให้เราต้องจมอยู่กับความทุกข์
     เรา กำลังก้าวสู่ "ชีวิตที่เป็นจริง" แล้วหล่ะ เพราะความเป็นจริงของชีวิต จะสอนให้เรารู้จักยอมรับความพ่ายแพ้สอนให้เรารู้จักสูญเสียน้ำตา เพื่อที่จะได้รอยยิ้มคืน กลับมาเป็นรางวัลตอบแทนแต่มันก็ไม่เคยทำให้ใครหมดสิ้นความหวัง หมดสิ้นพลังและกำลังใจไปกับความพ่ายแพ้ เพียงแค่ความเป็นจริงสอนให้พวกเราทุกคนรู้ว่า

"อย่าเพียรสร้างความหวัง แต่ให้เชื่อมั่นใความหวัง"
เพราะความเชื่อมั่นจะนำพาเราไปพบกับ "หนทางสู่ความสำเร็จ"
แม้ว่าจะต้องฝ่าฟันอะไรอีกมากมายกว่าจะถึงวันนั้น
แม้ว่าจะต้องล้มลงอีกสักกี่ครั้ง
แม้ว่าจะต้องผิดหวังอย่างแรงอีกสักกี่หนก็ตาม
    
     ปล่อยให้ชีวิตผิดพลาดเสียบ้าง ปล่อยให้ความคาดหวังได้เจอกับความผิดหวัง ปล่อยให้ความฝันกลายเป็นฝันค้างลอยกลางอากาศ ปล่อยให้อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด แม้ว่าเกิดขึ้นแล้วจะเลวร้ายกับชีวิตก็ตามทีเพราะทุก ๆ อย่างที่เกิดขึ้น จะช่วยสอนและช่วยเป็นบทเรียนอันล้ำค่าให้แก่ชีวิต ที่หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้วบนโลกใบนี้ 

"มีพบก็ต้องมีจาก มีได้ก็ต้องมีเสีย และมีสุขก็ต้องมีทุกข์เป็นสัจธรรม"

     เมื่อไรที่เราได้รู้จักสัมผัส และได้เรียนรู้กับชีวิตทั้งสองด้าน เมื่อนั้นเราจะไม่รู้สึกเสียดายหากเราได้มีโอกาสล้มทั้งยืน แต่เราจะเสียใจไปตลอดชีวิตหากเราไม่สามารถก้าวข้ามความล้มเหลวที่ผ่านเข้ามา ได้
มีคนเคยบอกเอาไว้ว่า...

 การตั้งความหวัง คือการเสี่ยงกับความเจ็บปวด
 การพยายาม คือการเสี่ยงกับความล้มเหลว
 แต่ยังไงก็ต้องเสี่ยง เพราะในสิ่งที่อันตรายที่สุดในชีวิตก็คือ
 การไม่เสี่ยงอะไรเลย

"ล้ม" ลงสักกี่ครั้ง ผิดหวังมาสักกี่หน ลุกขึ้นยืนให้ไกด้ แล้วสักวันเราจะเจอความสุข เพราะความสุขไม่ได้หนีจากเราไปไหนหรอก มันอยู่ใกล้เราแค่เพียงเอื้อมมือจริง ๆ ถ้าหากเราไม่ได้ไปตัดสินว่า โลกมันควรเป็นอย่างที่เราอยากให้เป็น และไม่ได้ตั้งกฎเกณฑ์ให้กับตัวเองมากจนเกินไป เวลาคิดหรือทำอะไรสักอย่างแล้วมีข้อบังคับ มีกรอบ และสร้างมโนภาพความสำเร็จไว้ล่วงหน้า เมื่ออะไร ๆ ไม่เป็นไปตามกฎของเรา เราก็ทุกข์ เราก็เสียใจ และเราก็ใจเสียเอาได้ง่าย ๆ

ที่มา
http://hilight.kapook.com

เหตุผลที่ชอบ
บทความนี้ให้แง่คิดเรื่องของการที่เราผิดหวังหมกฃดหวังหรือเวลาที่เราท้อทำให้เรารู้สึกมีกำลังใจที่จะกลับมาเริ่มต้นใหม่

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มงคล38 ประการ


ภาระงานที่ ๑ วิเคราะห์ด้านต่างๆของเรื่องมงคล38 ประการ

(๑) อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
หนึ่งคือบ่คบพาล เพราะจะพาประพฤติผิด 
หนึ่งคบกะบัณฑิต เพราะจะพาประสพผล
หนึ่งกราบและบูชา อภิบูชะนีย์ชน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
- คำประพันธ์บทนี้กล่าวถึงไม่ควรคบคนชั่วเพราะจะพาให้เราประพฤติผิดไปด้วยควรคบคนดีที่จะนำพาเราไปสู่ความสำเร็จและควรเคารพบูชาผู้มีพระคุณ

(๒) พาหุสจฺจญฺะ สิปฺปญฺจ วินฺโย จ สุสิกฺขิโต สุภาสิตา จ ยา วาจา เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
ความได้สดับมาก และกำหนดสุวาที 
อีกศิลปะศาสตร์มี จะประกอบมนุญการ
อีกหนึ่งวินัยอัน นรเรียนและเชี่ยวชาญ
อีกคำเพราะบรรสาน ฤดิแห่งประชาชน
ทั้งสี่ประการล้วน จะประสิทธิ์มนุญผล
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
- คำประพันธ์บทนี้กล่าวถึงการรู้จักฟัง การพูด ความมีวินัยและการใฝ่ศึกษาหาความรู้

(๓) มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ ปุตฺต ทารสฺส สํคโห อนากุลา จ กมฺมนฺตา เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
บำรุงบิดามา- ตุระด้วยหทัยปรีย์ 
หากลูกและเมียมี ก็ถนอมประหนึ่งตน
การงานกระทำไป บ่มิยุ่งและสับสน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
- คำประพันธ์บทนี้กล่าวถึงการดูแลบิดามารดา บุตร ภรรยาเป็นอย่างดี การทำงานด้วยความตั้งใจ

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

เสียงส่วนใหญ่ คือ ความถูกต้อง


เสียงส่วนใหญ่ คือ ความถูกต้อง 

ในระบอบ ประชาธิปไตย เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง คือเสียงสวรรค์ แต่พวกเผด็จการทรราชพยายามบิดเบือนสัจธรรมข้อนี้อยู่เสมอ เรามายืนยันความถูกต้องกันเถิด


แต่ในความจริงเสียงข้างมากไม่ได้หมายความว่าถูกเสมอไปเช่น..
"อัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้าคือใคร ระหว่าง พระมหาโมคคัลลานะ กับ พระสารีบุตร"ถ้า 19 คนตอบว่า พระสารีบุตร คืออัครสาวกเบื้องซ้าย และอีก 1 คนตอบว่า พระมหาโมคคัลลานะ คืออัครสาวกเบื้องซ้าย ผู้ที่ตอบเหมือนกันทั้ง 19 คน ถือว่าเป็นเสียงข้างมากตอบผิดหมด และมีเพียง 1 คนเท่านั้นที่ตอบถูก
ส่วนตัวแล้วบ้างครั้งก็คิดว่าตัวเองเป็นคนที่ถูกเสมอเพราะอ่านมากรู้มากแต่้บางครั้งก็ไม่ใช่คือเรื่องบางเรื่องมันไม่จำเป็นว่าต้องถูกเสมอไปเพราะเรามีให้เลือกถูกกับผิดมันจึงเกิดการแบ่งแยกสร้างความแตกร้าวเพราะถ้าเชื่อว่าตัวเองนั้นถูกก็จะไม่ฟังคนอื่นแต่อีกด้านท่านอื่นก็ยอมเชื่อในความคิดของตัวเองเช่นกันมันจึงต้องหาหลักฐานมาสู้กันพอตัวเองแพ้ก็ เกิดการเสียหน้าและมองกันไม่ติด เป็นต้นเหตุของความเกลียดชังอันที่ิจริงเรื่องบ้างเรื่องถ้าเราไม่ยึดถือแต่เปลี่ยนเป็นพบกันคนละครึ่งทางความแตกแยกไม่เกิดเพราะทุกฝ่ายก็ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ การพบกันครึ่งทางนั้นดีที่สุดไม่จำเป็นต้องคำนึกถึงว่าผิดหรือถูกแค่ยืนอยู่บนกฏเดียวกันและพบกันครึ่งทาง
จึงสรุปได้ว่า เสียงส่วนใหญ่อาจจะไม่ใช่ความถูกต้องเสมอไปเพราะเราควรนึกถึงหลักเหตุผลตามความจริง จึงควรหันหน้ามาคุยกันมากกว่าที่จะยึดว่าใครถูกหรือผิด